ปฎิกิริยา 5 ธาตุ
ศาสตร์ฮวงจุ้ยในระบบ "เฮี่ยงคงป่วยแช” หรือ ดาวเหิน รวมถึงดวงจีนในระบบ "โป๊ยหยี่สี่เถียว” คงไม่สามารถปฏิเสธการเรียนรู้เรื่อง "ปฏิกริยา 5 ธาตุ” หรือ "ปฏิกริยาเบญจธาตุ” ได้ เนื่องจากถือเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์, วิจัย และ ตีความ เกี่ยงกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำปฏิกริยาในต่างรูปแบบของพลังงานที่มีรูปแบบลักษณะตรงกับธาตุทั้ง 5 ที่จะได้ทำการกล่าวถึงต่อไปนี้
โดยปราชญ์จีนได้แบ่งลักษณะของสรรพสิ่งหรือสสารทุกสิ่งบนโลกออกเป็น5 ธาตุดังนี้ ซึ่งทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถที่จะอธิบายได้โดยธาตุทั้ง 5 นี้ โดยลักษณะที่พิจารณามีทั้ง รูปแบบการเคลื่อนไหวของพลังงาน, วัตถุธาตุของสรรพสิ่งนั้น, รูปทรง รวมไปถึง สี รายละเอียดตามตัวอย่างในตารางด้านล่างนี้
ธาตุไม้ (พลังพุ่งขึ้น)
สีที่ใช้
เขียวเข้ม
เขียวอ่อน
กากี
รูปทรง
สี่เหลี่ยมผืนผ้า
สี่เหลี่ยมทรงสูง
เส้นหนาสูง ยาว
ธาตุน้ำ (พลังไหลลง)
สีที่ใช้
ฟ้า, น้ำเงิน
เทา
ดำ
รูปทรง
เส้นคลื่น
เส้นโค้ง
เส้นบาง
ธาตุไฟ (พลังกระจาย)
สีที่ใช้
แดง, ส้ม
ม่วง
ชมพู
รูปทรง
สามเหลี่ยม
เส้นแหลม
มุมแหลม
ธาตุดิน (พลังรวมศูนย์)
สีที่ใช้
น้ำตาล
เหลือง,
อิฐ ครีม
รูปทรง
สี่เหลี่ยมลูกเต๋า
สี่เหลี่ยมจตุรัส
ธาตุทอง (พลังหมุนทะลวง)
สีที่ใช้
ทอง ทองเหลือง
เงิน ทองแดง
สีขาว
รูปทรง
วงกลม
วงรี
ครึ่งวงกลม
วงจรส่งเสริม, ก่อเกิด (ถ่ายเท)
น้ำก่อเกิดไม้
เพราะทุกๆที่ ที่มีน้ำย่อมมีสิ่งมีชีวิต เช่นการเกิดสิ่งมีชีวิตแรกบนโลกของเราก็เกิดในน้ำ
ไม้ก่อเกิดไฟ
เพราะไม้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ดีที่สุดในการก่อกำเนิดไฟ และไม้ทุกชนิดสามารถติดไฟได้
ไฟก่อเกิดดิน
เพราะไม่มีสสารใดๆสูญหายไปจากโลก ดังนั้นเมื่อทุกสิ่งถูกเผาหรือแม้กระทั่งย่อยสลาย ก็จะกลายเป็นดิน
ดินก่อเกิดทอง
เพราะแร่ธาตุหลายๆชนิดนั้นสามารถหาได้ในผืนดิน ไม่เว้นแม้กระทั้งทองหรือเพชร
ทองก่อเกิดน้ำ
เพราะของแข็งทุกชนิดต้องเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพกลายเป็นของเหลว เช่น น้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ
จะพบว่าจากปฏิกริยาดังกล่าวจะทำให้ธาตุที่ถ่ายเทอ่อนแอลง และธาตุที่รับการถ่ายเทแข็งแรงขึ้น เช่น หากน้ำก่อเกิดไม้ น้ำจะต้องน้อยลงไปเรื่อย และ ไม้ก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ หรือ หากไม้ก่อเกิดไฟ ไม้จะต้องถูกเผาไปจนหมด และ ไฟก็จะร้อนและใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ
วงจรควบคุมหรือพิฆาต
น้ำพิฆาตไฟ
เพราะที่ไหนมีไฟ สามารถใช้น้ำดับไฟหรือควบคุมไม่ให้ไฟลามต่อไปได้
ไฟพิฆาตทอง
เพราะทองหรือของแข็งต่างๆจะโดนหลอมเหลวเพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นของเหลวด้วยไฟหรือความร้อน
ทองพิฆาตไม้
เพราะต้นไม้ต่างๆ จะโดนตัดโดยอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ
ไม้พิฆาตดิน
เพราะสารอาหารต่างๆที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้อยู่ในดิน
ดินพิฆาตน้ำ
เพราะเราใช้ดินในการก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ
สำหรับวงจรควบคุมหรือพิฆาตนั้นมีทั้งจำเป็นต้องดูถึงความมากน้อยของธาตุทั้งสองที่ทำปฏิกริยากันด้วย เช่น หากน้ำน้อยจะไม่สามารถพิฆาตไฟได้กลับจะเป็นการยั่วไฟให้โหมหนักขึ้น แต่หากใช้น้ำพอดีๆจะเป็นการควบคุมไม่ให้ไฟลามได้ หรือหากใช้น้ำมากกว่าไฟมากๆจะพิฆาตไฟให้ดับไปเลย