โป๊ยหยี่ สี่เถี่ยว คืออะไร

โป๊ยหยี่ สี่เถี่ยว คืออะไร

know6

ศาสตร์

โป๊ยหยี่ สี่เถี่ยว  คืออะไร 

การดูศาสตร์โป๊ยหยี่ฯ ซึ่งมีความสำคัญมาก จะผูกกับปฏิทินจีน เหตุผลทำไมประเทศจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของโลก การเปิดกิจการต้องใช้โป๊ยหยี่ เพื่อให้ธุรกิจรุ่งเรืองอย่างชัดเจน โดยวิเคราะห์หลักการการใช้ราศีต่างๆ บน หรือล่าง มาจับคู่กัน โดยใช้วันเดือน ปีเกิด เวลาเกิด มาคำนวณ จะทำให้ทราบเลยว่าท่านมีดวงชะตามีธาตุอะไรบ้าง เพื่อ “ทราบว่าท่านต้องใช้ธาตุใดดีที่สุด เพื่อมีสติปัญญา ความเจริญก้าวหน้า และสุขภาพ ไปทิศทางใดเกิดความรุ่งเรือง รวมถึงการเสริมดวง หรือปรับแก้ดวงชะตา

ดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถียว

จะใช้ปฏิทินในระบบสุริยคติ ระบบ 5 ธาตุ 2 พลัง และการจับคู่ระหว่างราศีบน  และราศีล่าง จำนวน 60 คู่ จับคู่เรียงกันตามลำดับ 5 ธาตุที่ก่อเกิดกันเรียกว่า หลักจั๊บกะจื้อ ที่นำมาแทนความหมายของหลัก ปี เดือน วัน ยาม ในการตั้งดวงสี่แถว 8 ตัวอักษร รวมทั้งวัยจร ปีจร เดือนจร

ปฏิทินระบบสุริยคติ

เป็นปฏิทินบอกฤดูกาล เป็นการนับช่วงเวลาการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งพลังงาน โดยมีกลุ่มดาวจักรราศีเป็นตัวช่วยในการกำหนดนับ กินเวลาทั้งสิ้น 1 รอบ 365.25 วัน หรือ 12 เดือน
ฤดูกาลเกิดจากแกนโลกเอียง 23.4443291 องศา เมื่อโลกเคลื่อนไหว ทำให้สภาพภูมิอากาศแต่ละเดือนแตกต่างกัน และอุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเกิดเป็น 4 ฤดูกาล (ของจีน)
แต่ละฤดูกาลมีระยะเวลา 3 เดือน ในแต่ละเดือนจะมี 2 สารทคือ สารทใหญ่และสารทเล็ก เพื่อบ่งบอกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะทำการเกษตร และการดำรงชีวิต 

แต่ละฤดูกาลจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

โดยเริ่มจาก เดือนแรกต้นฤดูกาลจะเป็นพลังงานหยาง  เบ้เป็นการขยับเคลื่อนไหวก่อเกิด ไปสู่กลางฤดูกาลที่เป็นแม่ธาตุหยิน ก่อนที่จะไปเก็บสะสมพลังงานเป็นคลัง ในปลายฤดูคือธาตุดิน เพื่อเตรียมผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูกาลถัดไป ดังนี้

ฤดูใบไม้ผลิ  ชุนเหล็ง

ธาตุไม้ ทิศตะวันออก  ตังฮึง
เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ ธาตุไม้เอี้ยง  
เดือนมีนาคม ธาตุไม้เบ้า  
เดือนเมษายน ธาตุดินซิ้ง 

ฤดูร้อน  แฮ่เหลง

ธาตุไฟ ทิศใต้ นั้มฮึง
เริ่มต้นเดือนพฤษภาคม ธาตุไฟจี๋ 
เดือนมิถุนายน ธาตุไฟโง่ว 
เดือนกรกฏาคม ธาตุดินบี่ 

ฤดูใบไม้ร่วง 秋令 ชิวเหลง

ธาตุทอง ทิศตะวันตก  ไซฮึง
เริ่มต้นเดือนสิงหาคม ธาตุทองซิม  
เดือนกันยายน ธาตุทองอิ้ว 
เดือนตุลาคม ธาตุดินสุก 戌

ฤดูหนาว 冬令 ตังเหลง

ธาตุน้ำ ทิศเหนือ  ปักฮึง
เริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน ธาตุน้ำไห  
เดือนธันวาคม ธาตุน้ำจื้อ  
เดือนมกราคม ธาตุดินทิ่ว  เป็นเดือนสุดท้ายในแต่ละปี

ส่วนประกอบของผังดวง

หลักปีเกิด 

โหราศาสตร์จีนจะใช้หลักจั๊บกะจื้อ นำมาใช้ในการขึ้นผังดวง และการพยากรณ์
ในการนับปี เช่น ปีกะจื้อ  แทนปีชวด ปีต่อไปคือ อิกทิ่ว  คือปีฉลู จะนับผัดเปลี่ยนหมุนเวียนจนครบราศี 60 คู่เป็น 1 รอบ ใช้เวลา 60 ปี จากนั้นจึงขึ้นรอบใหม่

การนับวัยจรหรือถนนชีวิต โหราศาสตร์จีนจะใช้หลักจั๊บกะจื้อ นำมาใช้ในการขึ้นผังดวง และการพยากรณ์ ในการนับปี เช่น ปีกะจื้อ  แทนปีชวด ปีต่อไปคือ อิกทิ่ว  คือปีฉลู จะนับผัดเปลี่ยนหมุนเวียนจนครบราศี 60 คู่เป็ 1 รอบ ใช้เวลา 60 ปี จากนั้นจึงขึ้นรอบใหม่

หลักเดือน 

การหาราศีหลักเดือนและวัยจร จะใช้หลักปีในการคำนวณหาค่า โดยจะถือเอาวันเปลี่ยนสารทใหญ่ เป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนเดือน  ประเทศจีนช่วงเวลา 1 ปี จะแบ่งออกเป็น 24 ปักษ์หรือ 24 สารท จั้กขี่หรือโจ่ยะขี่) คือสภาพอากาศ ที่แตกต่างกันออกไป ตามการเคลื่อนที่ของโลก ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จะเกิดทุก 5 วันเรียกว่า 1 ฮ่าวหรือ 1โฮ่ว แปลว่ากาลเวลา

1 ฮ่าว  ใช้เวลาเท่ากับ 5 วัน
3 ฮ่าว  เป็น 1 สารทใหญ่ (โจ่ยะ )

สารทใหญ่ 1โจ่ยะ  + สารทเล็ก 1 ขี่ เท่ากับเวลา 1 เดือน (ในระบบสุริยคติ)
สารทใหญ่  จะนับจากประมาณวันที่ 3 -- 9 ของเดือนสากล เมื่อดวงอาทิตย์เข้ากลางราศีล่าง ทำมุมประมาณ 15 องศาตามหลักสายนะ
ส่วนประมาณวันที่ 20 -- 24 ของเดือนสากล จะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ย้ายราศี เปลี่ยนจากราศีหนึ่ง เข้าไปสู่อีกราศีหนึ่ง จะเรียกว่าสารทเล็ก 
-- หลักเดือนเดินครบ 1 รอบกะจื้อ จะใช้เวลา 5 ปี 

หลักวันเกิด

ให้เทียบกับปฏิทิน 100 ปี ว่าวันเกิดตรงกับหลักจั๊บกะจื้อคู่ไหน
-- หลักวัน จะขึ้นกะจื้อรอบใหม่ใช้ระยะเวลา 2 เดือน หรือ 60 วัน
หลักยามเกิด
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดกลางวันกลางคืน เป็นช่วงกลางวันพลังหยาง 6 ชั่วยาม และช่วงกลางคืนพลังหยิน 6 ชั่วยาม โดยใน 1 วันมี 12 ชั่วยาม หรือ 1 ชั่วยามประมาณ 2 ชั่วโมง
โดยเริ่มจากยามจื้อ  คือเวลา 23.00น. ถึง 24.59น. ไล่ไปจนถึงยามไห  คือเวลา 21.00น. ถึง 22.59น. เดินครบ 12 ราศี
หลักยามเดิน 1 รอบกะจื้อ จะใช้เวลา 5 วัน
ในการคำนวณหลักยาม
ดิถี (หลักวัน) จะเป็นตัวกำหนดคำนวณเวลาเกิด 时 ในตารางกะจื้อ
ใน 1 ชั่วยามจะมี 120 นาที ดังนั้นใน 2 นาทีจะเปลี่ยนนักษัตรใหม่ เรียกว่าหลักยามย่อย (小时 เสี่ยวซี้) 

ระบบจันทรคติ

ใน 1 เดือนจะแบ่งเป็นเดือนจันทร์ใหญ่ มี 30 วันและเดือนจันทร์เล็ก  มี 29 วัน ในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้นการเปลี่ยนเดือนตามระบบจันทรคติ ส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับการเปลี่ยนสารทใหญ่ในระบบสุริยคติ
ใน 1 ปีจะมี 354 วันต่างกับระบบสุริยคติ ประมาณ 10 กว่าวัน ดังนั้นในทุก 3 ปี จะทดเวลาเพิ่มอีกหนึ่งเดือน ระบบจันทรคติจะเริ่มต้นปีในวันตรุษจีน ในวัน 1 ค่ำเดือน 1 จีน

จะเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม , ดินฟ้าอากาศ , เมฆฝน , น้ำขึ้น - น้ำลง โดยน้ำจะขึ้นเต็มที่ในวันที่ 3 กับวันที่ 18 และน้ำจะลงเต็มที่ในวันที่ 9 กับวันที่ 23 ตามปฏิทินจันทรคติ 

websitehj6 1
hjnew25 1
Port_hj1 1
busin_hj5
Portfolio

Instagram

ความรู้ของเรา

Hjpackaginghome

ปีชง 2565 พร้อมวิธีแก้ชง

ปีวอก เป็นการชงอย่างหนัก ยิ่งช่วงโควิดจะมีด้านดี หรือด้านลบ ...

Hjpackaginghome

ป้ายร้านค้าตามหลักฮวงจุ้ย

การทำป้ายร้านค้าเป็นสิ่งสำคัญการดำเนินธรุกิจ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ขนาดหลู่ปัง

Hjpackaginghome

โป๊ยหยี่ สี่เถี่ยว  คืออะไร 

การดูศาสตร์โป๊ยหยี่ฯ ซึ่งมีความสำคัญมาก จะผูกกับปฏิทินจีน เหตุผล

Hjpackaginghome

เบญจธาตุทั้ง 5  คืออะไร 

การกำหนดวัฏจักรธาตุ่กอให้เกิดการสมดุล

Logo_newhf

ปรึกษาสอบถามรายละเอียด 

ติดต่อเรา

0916889971

hjdesign168@gmail.com

dbd6

ที่อยู่ของเรา

The Adds. Digital Group
Tax.no 0115563019933

 LE NEYASOLL 99/9 Moo2 Bang Sao Thong District , Samut Prakan

นโยบายส่วนตัว

สงวนลิขสิทธิ์ © 2562 ฮวงจุ้ยดีไซน์